ด้านที่ 4 ด้านสิ่งแวดล้อม

1. การกำหนดนโยบายและการจัดการสิ่งแวดล้อม

1.1 มีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจน
1.2 มีการกำหนดโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบในการจัดการสิ่งแวดล้อม
1.3 มีแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อม หรือมาตรการตามนโยบายในการจัดการสิ่งแวดล้อมในสถานพยาบาล พร้อมทั้งมีการส่งเสริมและพัฒนาเพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในสถานพยาบาลอย่างเป็นรูปธรรม
1.4 การเฝ้าติดตามและวัดผลในกิจกรรมซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
1.5 มีการดำเนินการแก้ไขและป้องกันจากกิจกรรมซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และตรวจติดตามประสิทธิผลของการแก้ไขและการป้องกันด้านสิ่งแวดล้อม

2. การจัดการมูลฝอย (มูลฝอยทั่วไป, มูลฝอยติดเชื้อ, วัสดุและกากของเสียอันตราย)

2.1 จัดให้มีผู้รับผิดชอบในการจัดการมูลฝอย
2.2 มีคู่มือกำหนดขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงาน
2.3 ผู้ปฏิบัติงานทราบขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงาน และมีการปฏิบัติตามคู่มือที่กำหนด พร้อมจดบันทึกผลการปฏิบัติงานรายงานต่อผู้บังคับบัญชา
2.4 มีระบบการคัดแยกมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิด ตามประเภทของมูลฝอย
2.5 มีการแยกมูลฝอยติดเชื้อระหว่างวัสดุมีคมและวัสดุไม่มีคม ภาชนะมีความคงทน และเหมาะสม
2.6 มีแผนการและวิธีการเก็บขนเคลื่อนย้ายมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะ
2.7 มีสถานที่พักมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะ
2.8 มูลฝอยติดเชื้อต้องเก็บกักไว้ไม่เกิน 7 วัน หากมีการเก็บกักมูลฝอยติดเชื้อไว้เกิน 7 วัน ที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อ ต้องสามารถควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ที่ 10 องศาเซลเซียส หรือต่ำกว่านั้นได้
2.9 มีการกำจัดมูลฝอย (มูลฝอยทั่วไป, มูลฝอยติดเชื้อ, วัสดุและกากของเสียอันตราย) ที่ถูกสุขลักษณะ หรือเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
2.10 มีบัญชีรายการของวัสดุและของเสียอันตรายที่มีในโรงพยาบาล
2.11 มีข้อปฏิบัติและดำเนินการในการจัดเก็บของเสียอันตรายอย่างปลอดภัย

3. การจัดการน้ำเสีย

3.1 มีการบริหารจัดการปริมาณน้ำทิ้งของสถานพยาบาลให้เกิดความเพียงพอ ปลอดภัย กับความสามารถของระบบบำบัดน้ำเสีย
3.2 ผู้รับผิดชอบในการดูแลระบบบำบัดน้ำเสียที่ผ่านการอบรม และมีเอกสารแสดงการมอบหมายหน้าที่เป็นลายลักษณ์อักษร
3.3 มีคู่มือกำหนดขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงาน ตามชนิดของระบบบำบัดน้ำเสีย
3.4 ผู้ปฏิบัติงานทราบขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงาน และมีการปฏิบัติตามคู่มือที่กำหนด
3.5 มีผู้ควบคุมระบบบำบัดน้ำเสีย และได้รับการอบรมหลักสูตรในการควบคุมระบบบำบัดน้ำเสีย และมีการทบทวนอย่างน้อย 2 ปี/ครั้ง
3.6 มีแผนผังแสดงกระบวนการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียที่เป็นปัจจุบัน
3.7 มีอุปกรณ์เบื้องต้นที่จำเป็นในการดูแล ควบคุม ระบบบำบัดน้ำเสีย
3.8 มีการจัดทำเอกสารกำกับเครื่องจักรและอุปกรณ์ประกอบระบบบำบัดน้ำเสียทุกเครื่อง (ขนาด ชนิด อายุการใช้งานวิธีการใช้งาน ประวัติการซ่อม)
3.9 มีแผนงานการซ่อมบำรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์ตามระยะเวลาที่กำหนดเป็นลายลักษณ์อักษร
3.10 มีการตรวจสอบการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย พร้อมบันทึกผลการตรวจสอบประจำวัน
3.11 มีการบันทึกและรายงานผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียตามมาตรา 80 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
3.12 มีการตรวจวัดคุณภาพน้ำทิ้งทุกๆ 3 เดือน ตามมาตรฐานหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

4. การจัดการน้ำอุปโภคและบริโภค

4.1 จัดให้มีผู้รับผิดชอบดูแลระบบน้ำอุปโภคและบริโภค
4.2 มีคู่มือกำหนดขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงาน
4.3 ผู้ปฏิบัติงานทราบขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงาน และมีการปฏิบัติตามคู่มือที่กำหนด พร้อมจดบันทึกผลการปฏิบัติงาน
4.4 มีการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำอุปโภคและบริโภค ตามเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข หรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
4.5 มีการตรวจวัดค่าคลอรีนคงเหลือในน้ำประปาประจำวัน และตรวจหาค่าเชื้อโรคประจำเดือน พร้อมบันทึกผลการตรวจสอบ
4.6 มีการจดบันทึกข้อมูลการใช้น้ำประจำวัน
4.7 มีแผนและการดำเนินการระบบการดูแลรักษาถังพักน้ำหรือถังสำรองน้ำ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
4.8 มีการสำรองน้ำอุปโภคและบริโภค ให้เพียงพอในสภาวะฉุกเฉิน อย่างน้อย 3 วัน

5. การจัดการระบบส่องสว่าง

5.1 มีการตรวจวัดแสงสว่างในพื้นที่ปฏิบัติงาน/พื้นที่ให้บริการให้เป็นไปตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

6. การจัดการมลพิษทางเสียง

6.1 มีการกำหนดมาตรการ และวิธีการป้องกันการควบคุมมลพิษทางเสียง เช่น ห้องเครื่อง ห้องอัดอากาศ พื้นที่ก่อสร้าง เป็นต้น
6.2 มีการตรวจวัดเสียงในพื้นที่ที่มีความเสี่ยง เช่น ห้องเครื่อง พื้นที่ก่อสร้าง เป็นต้น

7. การควบคุมมลพิษทางอากาศ

7.1 มีการตรวจวัดคุณภาพอากาศในพื้นที่ให้บริการให้เป็นไปตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

8. การลดปริมาณของเสีย

8.1 มีแผนดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการดำเนินงาน และติดตามผล เพื่อลดการเกิดของเสีย

9. การจัดการด้านพลังงาน

9.1 มีแผนและการดำเนินงานในการส่งเสริมและอนุรักษ์พลังงาน